BDSwiss App
Download & start trading

ฟอเร็กซ์ขั้นพื้นฐาน

ในบทเรียนฟอเร็กซ์ขั้นพื้นฐานของเรา เราจะแนะนำคุณเกี่ยวกับพื้นฐานการเทรดฟอเร็กซ์และ CFD กับ BDSwiss บทเรียนต่อไปนี้จะช่วยปูพื้นฐานในตลาดฟอเร็กซ์เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจหลักการทั่วไปของตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็วนี้

การตั้งค่า Stop Loss

บทความนี้จะอธิบายว่าทำไม Stop-Loss จึงมีความจำเป็น วิธีการตั้งค่า ตลอดจนตัวอย่างกลยุทธ์การใช้ Stop-Loss ที่เทรดเดอร์สามารถใช้ได้ Stop-Loss คืออะไร? Stop-Loss คือคำสั่งเข้าตลาดเพื่อปิดการเทรดที่เปิดอยู่หากถึงและเมื่อถึงราคาที่ระบุไว้ Stop-Loss ใช้เพื่อแก้ไขการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นของเทรดเดอร์ และเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ฝ่าฝืนการป้องกันการจัดการความเสี่ยงที่มีอยู่ ดังนั้น Stop-Loss จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเทรดเดอร์จัดการกับการเปิดรับความเสี่ยงและรักษาฐานเงินทุนของพวกเขาไว้ เราขอแนะนำอย่างยิ่งให้ลูกค้าทุกคนสร้างความคุ้นเคยกับการใช้คำสั่ง Stop-Loss และใช้งานอย่างสม่ำเสมอในกิจกรรมการเทรด คุณลักษณะสำคัญประการหนึ่งของคำสั่ง Stop-Loss คือไม่ยึดติดกับเวลา เมื่อมีการวางคำสั่ง Stop-Loss คำสั่งนั้นจะยังคงทำงานจนกว่าการเคลื่อนไหวของราคาจะไปถึงจุดนั้น นั่นหมายความว่าลูกค้าสามารถอยู่ห่างจากหน้าจอได้อย่างปลอดภัยในขณะที่แนวคิดในการเทรดดำเนินการต่อไป โดยมีความปลอดภัยในแง่ที่รู้ว่าคำสั่ง Stop-Loss จะปิดการเทรดให้โดยอัตโนมัติ กลยุทธ์การใช้ Stop-Loss แม้ว่าคำสั่ง Stop-Loss จะเรียบง่ายและตรงไปตรงมา ผู้ใช้ MetaTrader สามารถใช้กลยุทธ์การเทรดที่ซับซ้อนได้โดยใช้คำสั่งเหล่านี้ด้วย เมื่อคุณเชี่ยวชาญความสามารถในการระบุระดับที่สำคัญแล้ว Stop-Loss สามารถช่วยเทรดเดอร์ในการระบุระดับเป้าหมายที่เจาะจงและดำเนินการออกจากการเทรดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะช่วยเทรดเดอร์ในการรักษาอัตราส่วนความเสี่ยง-ผลตอบแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า  กลยุทธ์การใช้ Stop-Loss ใน FX อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การเทรดของคุณก้าวไปสู่อีกระดับ หนึ่งในกลยุทธ์ง่ายๆ คือการวางคำสั่ง Stop-Loss ที่ทำให้แน่ใจว่าบัญชีเทรดของคุณจะมีความเสี่ยงในการเทรดใดๆ ไม่เกิน 1% หากต้องการคำนวณระดับ Stop-Loss … Continued

ทำความเข้าใจการเทรดด้วยมาร์จิ้น

การเทรดด้วยมาร์จิ้น หมายถึงการใช้เงินทุนที่ยืมมาจากโบรกเกอร์เพื่อเทรดสินทรัพย์ทางการเงิน เงินทุนทำหน้าที่เป็นหลักประกันเงินกู้จากโบรกเกอร์ ในกรณีที่ขาดทุน โบรกเกอร์สามารถ “เรียกมาร์จิ้นเพิ่ม” โดยปิดการเทรดที่เปิดอยู่โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากเทรดเดอร์/ลูกค้า ที่ ลูกค้าทุกคนจะได้รับการรับประกันว่าบัญชีของพวกเขาจะไม่ลดต่ำกว่าศูนย์ การเรียกมาร์จิ้นเพิ่มทั้งหมดจะทำโดยอัตโนมัติผ่าน MetaTrader ตามเงื่อนไขการเทรดของเรา ที่สำคัญคือ มาร์จิ้นที่กำหนดไม่ใช่ต้นทุนหรือค่าธรรมเนียม แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของยอดเงินในบัญชีของลูกค้าที่กันเอาไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเทรด มาร์จิ้นในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การเทรดทุกอย่างสามารถทำได้หลายวิธี พร้อมด้วยวัตถุประสงค์ ความคาดหวัง และผลลัพธ์ที่หลากหลาย เทรดเดอร์บางคนเลือกที่จะเก็งกำไรในระยะสั้น ส่วนบางคนก็มองหาการลงทุนในระยะยาว การเทรดด้วยมาร์จิ้น หรือที่เรียกว่า “เลเวอเรจ” ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นส่วนหนึ่งของการเทรดเก็งกำไร มีบทบาทสำคัญในกลยุทธ์ของเทรดเดอร์ เลเวอเรจทำให้แต่ละคนสามารถเก็งกำไรในตลาดการเงินได้ แม้ว่าจะมีเงินทุนค่อนข้างน้อยก็ตาม ก่อนหน้านี้มีเพียงบริษัทเฉพาะทางหรือบุคคลที่ร่ำรวยมากเท่านั้นที่สามารถเก็งกำไรจากการเคลื่อนไหวของสกุลเงิน ตราสารทุน และสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ไม่ใช่อีกต่อไป เลเวอเรจทำให้แต่ละคนสามารถเก็งกำไรในตลาดการเงินได้ แม้ว่าจะมีเงินทุนค่อนข้างน้อยก็ตาม เทรดเดอร์ที่ต้องการเทรด $100,000 ในสกุลเงินที่ระบุด้วยข้อกำหนดด้านมาร์จิ้น 1% จะต้องฝากเงิน $1,000 ในขณะที่โบรกเกอร์จัดหาที่เหลืออีก 99% ให้ ในบัญชีเทรดด้วยมาร์จิ้น เงิน $1,000 ทำหน้าที่เป็นเงินประกัน เลเวอเรจทำงานอย่างไร สมมติว่ามีการเปิดบัญชีเทรดใหม่และฝากเงินไว้ $500 และสมมติว่าข้อกำหนดด้านมาร์จิ้นคือ 1% ทำให้เลเวอเรจในบัญชีนี้เท่ากับ 100:1 … Continued

แนวรับและแนวต้าน

เมื่อใดก็ตามที่ผู้ซื้อและผู้ขายต่อสู้แย่งชิงราคาที่ระดับใดระดับหนึ่ง การเคลื่อนไหวของราคามักจะมุ่งไปที่ “ระดับสำคัญ” ซึ่งผู้มีส่วนร่วมในตลาดได้วางคำสั่งที่รอดำเนินการไว้ จากผลลัพธ์ของการดำเนินการนี้ เทรดเดอร์สามารถสร้างแนวรับและแนวต้านเพื่อเพิ่มความเข้าใจของพวกเขาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของราคาที่ใกล้เข้ามา ระดับแนวรับ คือราคาที่คาดว่าเทรนด์ขาลงจะหยุดชั่วคราวเนื่องจากความต้องการเข้าสู่ตลาดในราคาที่ต่ำกว่ามีมากขึ้น ความต้องการสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเมื่อราคาลดลง ซึ่งจะเห็นเป็นแนวรับที่ชัดเจน ในทางกลับกัน ระดับหรือโซนแนวต้าน ก็สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากความสนใจที่จะขายอย่างล้นหลามซึ่งเป็นการผลักดันราคาให้สูงขึ้น เมื่อระบุระดับแนวรับหรือแนวต้านได้แล้ว สิ่งนี้สามารถทำหน้าที่เป็นจุดเข้าหรือออกที่เป็นไปได้ ที่สำคัญคือ เมื่อการเคลื่อนไหวของราคาแตะแนวรับหรือแนวต้าน ก็มีแนวโน้มที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้: 1. ดีดตัวกลับออกจากแนวรับหรือแนวต้าน หรือ 2. ทะลุระดับราคาและเคลื่อนต่อไปในทิศทางนั้น จนกว่าการเคลื่อนไหวของราคาจะพบกับด่านทดสอบถัดไปในรูปแบบของอีกหนึ่งแนวรับหรือแนวต้าน การรู้ว่าตลาดมีแนวโน้มที่จะตอบสนองด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งจากสองวิธี จะช่วยสร้างโอกาสในการเทรดที่หลากหลาย เทรดเดอร์สามารถใช้ระดับแนวรับ/แนวต้านเป็นขอบเขตในการวางคำสั่ง Stop-Loss และ/หรือ Take-Profit โดยความรู้ที่ว่าเทรดเดอร์รายอื่นจะ “ป้องกัน” หรือ “เผชิญหน้า” กับระดับเหล่านั้นด้วย นอกจากนี้ หากรวมกับมุมมองที่กว้างขึ้น เทรดเดอร์สามารถเลือกระดับแนวต้าน/แนวรับที่แข็งแกร่งและใช้ในการอ้างอิงอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป ด้วยการจดบันทึกระดับที่แข็งแกร่งก่อนหน้านี้ไว้ เทรดเดอร์สามารถค้นหาโอกาสในการเทรดที่ยอดเยี่ยมได้ในอนาคต

เส้นแนวโน้มในการวิเคราะห์ทางเทคนิค

ในการเทรด เส้นแนวโน้มจะถูกใช้เพื่อประเมินทิศทางกว้างๆ ของตลาดที่เจาะจง ด้วยการวางจุดสัมผัสหลายจุดในการเคลื่อนไหวของราคาในช่วงเวลาหนึ่ง เทรดเดอร์จะสามารถวัดไม่เพียงแต่ทิศทางที่น่าจะเป็นของราคาในอนาคต แต่ยังสามารถเลือกจุดเข้า/ออกได้อย่างรอบคอบสำหรับการเทรดที่ตั้งใจไว้ เส้นแนวโน้มที่วางไว้คือเส้นขอบเขตสำหรับการเคลื่อนไหวของราคาในตลาด ดังนั้นยิ่งมีจุดที่จะวาดเส้นมากเท่าใด ก็ยิ่งมีความมั่นใจเบื้องหลังเทรนด์มากขึ้นเท่านั้น กล่าวได้ว่าเส้นแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการวาดเส้นทแยงมุมระหว่าง Pivot Point ของราคาอย่างน้อยสามจุดขึ้นไป ตามหลักทั่วไป เทรดเดอร์เลือกที่จะรอดูจุดสัมผัสอย่างน้อย 3 จุดก่อนที่จะวางเส้นแนวโน้ม ยิ่งเส้นแนวโน้มมีจุดสัมผัสมากเท่าไหร่ เทรดเดอร์ก็จะยิ่งมีความมั่นใจมากขึ้นเท่านั้นเมื่อการเคลื่อนไหวของราคาเป็นไปตามนั้น เราสามารถวาดเส้นแนวโน้มในช่วงขาลงได้เช่นกัน การผสมผสานของเทรนด์ การเคลื่อนไหวของราคาในตลาดใดๆ สามารถยุบรวมเข้าเทรนด์หลักได้ แต่บางครั้งก็มีแรงดีดที่เป็นการเคลื่อนไหวชั่วคราวสวนทางแนวโน้มที่เหนือกว่า ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสภาพแวดล้อมการเทรดจริง ด้วยการระบุการผสมกันของเทรนด์ระยะสั้นที่เบาบางท่ามกลางเทรนด์ระยะยาวที่เข้มแข็ง เทรดเดอร์จะสามารถค้นหาจุดเข้าและออกที่เป็นประโยชน์ได้ เทรดเดอร์ยังสามารถค้นหาเฟสการสร้างฐานที่ไม่มั่นคงและใช้เส้นแนวโน้มกับการเคลื่อนไหวของราคาเหล่านั้น การดีดตัวกลับอย่างรวดเร็วของราคา (แสดงเป็นสีน้ำเงิน) ในช่วงที่ขาลงเหนือกว่าบ่งชี้ว่าการสร้างฐานมีโอกาสไม่สูงนักที่จะกลายเป็นการกลับตัวอย่างยั่งยืนของขาขึ้น (Sustained bullish reversal) ในกรณีนี้ เทรดเดอร์ควรมองหาจุดวางออเดอร์ Short เนื่องจากการเคลื่อนไหวของราคาอยู่ในช่วงที่มีความสนใจในการซื้อระยะสั้นๆ มากกว่าการไปเริ่มต้น Long ที่เส้นหรือใกล้กับเส้นแนวโน้ม (แสดงเป็นสีแดง) หางหรือตัว? ข้อพิจารณาที่สำคัญสำหรับเทรดเดอร์ที่ใช้เส้นแนวโน้มคือการวางเส้นตามไส้เทียน (หรือที่เรียกว่า “หาง”) หรือตัวแท่งเทียน ขึ้นอยู่กับตลาดและกลยุทธ์การเทรด เทรดเดอร์สามารถเลือกใช้วิธีใดก็ได้ เราขอแนะนำให้ทำการทดลองกับทั้งสองวิธีสักระยะหนึ่งและสร้างประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในตลาดที่เจาะจง โปรดจำไว้ว่า ไม่มีกฎตายตัวเกี่ยวกับเส้นแนวโน้ม พวกมันเป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่มีวิธีการใช้งานที่เฉพาะเจาะจงจนเกือบเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม เส้นแนวโน้มยังมีองค์ประกอบของศิลปะและความคิดสร้างสรรค์รวมอยู่ด้วย … Continued

ช่วงเวลาทำการของตลาดฟอเร็กซ์

แพลตฟอร์มของ เปิดให้บริการสำหรับการเทรดคู่เงินตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ (วันจันทร์ – วันศุกร์) แต่คู่เงินคริปโตเคอเรนซี่บางคู่สามารถเทรดได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง สิ่งสำคัญที่ควรทราบอีกอย่างคือเวลาดังกล่าวขึ้นอยู่กับช่วงเวลาออมแสง (Daylight Savings Time) ซึ่งเริ่มในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคมและสิ้นสุดในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม ช่วงเวลาทำการซื้อขายฟอเร็กซ์คืออะไร? ตลาดสกุลเงินต่างประเทศไม่ได้จำกัดอยู่ที่ตลาดแลกเปลี่ยนตลาดเดียว แต่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายตลาดแลกเปลี่ยนทั่วโลก ดังนั้นวันเทรดแต่ละวันจะแบ่งการเทรดออกเป็นหลายรอบเวลา (Session) เซสชั่นแรกเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อเซสชั่นเอเชียแปซิฟิก ตามเวลา GMT ออสเตรเลียจะเป็นผู้เริ่มวันเทรด โดยที่ซิดนีย์เปิดทำการตั้งแต่ 21.00 น. ถึง 06.00 น. ของวันถัดไป ตามด้วยญี่ปุ่นตั้งแต่เวลา 23.00 น. ถึง 08.00 น. จากนั้นจะมีฮ่องกงและสิงคโปร์เข้าร่วมด้วย แล้วก็จะเป็นยุโรป โดยลอนดอนจะเปิดเวลา 07:00 น. และปิดเวลา 16.00 น. และท้ายที่สุด สหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้ปิดท้ายวันนี้ โดยที่นิวยอร์กจะเปิดตั้งแต่เวลา 12.00 น. ถึง 21.00 น. … Continued

อธิบายประเภทคำสั่ง

ในการเปิดสถานะใดๆ ในตลาดฟอเร็กซ์ คุณต้องทำการวางคำสั่ง ซึ่งคำสั่งจะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเกี่ยวกับสถานะ เช่น ขนาดสถานะราคาเข้า ราคาออก ประเภทการดำเนินการ และอื่นๆ ในการเทรดฟอเร็กซ์/CFD คุณสามารถเลือกได้ว่าคุณจะเข้าสู่ตลาดโดยตรง เปิดสถานะทันที หรือว่าต้องการเปิดสถานะหลังจากที่ตรงตามเงื่อนไขราคาที่กำหนดเท่านั้น คำสั่งเปิดสถานะสามารถมีได้สี่แบบที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละแบบจะอาศัยการประเมินของนักลงทุนในการเปลี่ยนแปลงราคาในอนาคตเท่านั้น คำสั่งเข้าตลาด คำสั่งเข้าตลาดจะดำเนินการทันทีเมื่อทำการวาง คำสั่งเหล่านี้เป็นคำสั่งดำเนินการทันที ซึ่งหมายความว่าคุณกำลังซื้อหรือขายสกุลเงินทันทีที่ราคาปัจจุบัน คำสั่งเข้าตลาดจะกลายเป็นสถานะที่เปิดอยู่ทันทีและเป็นไปตามความผันผวนในตลาด ซึ่งหมายความว่าหากราคาเคลื่อนไหวสวนทางกับคุณ มูลค่าของสถานะจะลดลงและคุณขาดทุน แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือนี่เป็นการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจนกว่าคำสั่งจะถูกปิด หากราคาดีดตัวกลับในระหว่างนั้น การขาดทุนของคุณก็จะกลายเป็นกำไร คำสั่งซื้อ คำสั่งซื้อระบุว่าคุณต้องการลงทุนในราคาที่ปรับตัวขึ้น คำสั่งขาย คำสั่งขายระบุว่าคุณต้องการลงทุนในราคาที่ปรับตัวลง คำสั่ง STOP คำสั่ง STOP ถึงแม้จะฟังดูคล้าย Stop-Loss แต่ลักษณะต่างกันโดยสิ้นเชิง คำสั่ง STOP จะกลายเป็นคำสั่งเข้าตลาดต่อเมื่อเงื่อนไขบางอย่างถูกเติมเต็มเท่านั้น คุณสามารถใช้คำสั่ง STOP เพื่อซื้อเหนือตลาดหรือขายต่ำกว่าตลาด คำสั่ง STOP มีความหมายว่าคุณคาดการณ์ว่าเทรนด์ของราคาในปัจจุบันจะดำเนินต่อไปหลังจากที่แตะราคาคำสั่งของคุณ ด้วยคำสั่ง STOP คุณเชื่อว่าเมื่อถึงเกณฑ์ เทรนด์จะยังคงดำเนินต่อไป 2. คำสั่ง LIMIT คำสั่ง LIMIT ก็ไม่มีส่วนไหนเหมือนกับคำสั่ง … Continued

อธิบายคุณลักษณะของสถานะซื้อขาย

การเทรดฟอเร็กซ์และ CFD เป็นผลิตภัณฑ์ที่เปิดให้ใช้เลเวอเรจ หมายความว่าหากตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับสถานะของคุณ การขาดทุนของคุณจะถูกคูณด้วยอัตราส่วนเลเวอเรจที่คุณเลือกใช้ เทรดเดอร์บางคนเลือกใช้อัตราส่วนเลเวอเรจที่สูงเนื่องจากสามารถช่วยเพิ่มผลกำไรได้หลายเท่าเมื่อตลาดเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่พวกเขาวางสถานะไว้ แต่ก็ควรตระหนักด้วยว่าอัตราส่วนเลเวอเรจที่สูงขึ้นแปลว่าขาดทุนได้มากขึ้นเช่นกัน เมื่อพูดถึงการเทรด สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าคุณเข้าใจวิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ ได้อย่างที่คุณต้องการ เลเวอเรจ เมื่อคุณซื้อบ้าน คุณมักจะต้องวางเงินดาวน์และยืมเงินส่วนที่เหลือ จำนวนเงินที่คุณยืมเรียกว่าสินเชื่อหรือเลเวอเรจ เช่นเดียวกับในการเทรด หากคุณต้องการเทรดในปริมาณที่มากกว่าที่คุณเป็นเจ้าของ คุณต้องตั้งเลเวอเรจตามนั้น โบรกเกอร์มักจะเสนออัตราส่วนเลเวอเรจที่แตกต่างกันไปตั้งแต่ 1:50 ถึง 1:1000 สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่ายิ่งเลเวอเรจสูงเท่าไร ผลขาดทุนหรือกำไรของคุณก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เมื่อใช้เลเวอเรจ เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเข้าใจว่าคุณกำลังเพิ่มความเสี่ยง และเพื่อป้องกันไม่ให้คุณเลือกใช้เลเวอเรจสูงกว่าที่คุณสามารถรับมือได้ในฐานะเทรดเดอร์ ทาง จะทำการทดสอบความเหมาะสม หากคุณมีความรู้ไม่เพียงพอในการใช้เลเวอเรจอย่างเหมาะสม คุณจะถูกจำกัดอัตราส่วนเลเวอเรจที่ต่ำลง แต่ตอนนี้เรากลับไปที่กลไกการทำงานของเลเวอเรจกันก่อน… ในการทำธุรกรรมสกุลเงิน หากเลเวอเรจคือ 1:50 สำหรับเงินของคุณทุกๆ หนึ่งยูโร คุณกำลังยืมอีก 49 ยูโร โดยพื้นฐานแล้ว เงินแต่ละยูโรของคุณจะถูกคูณด้วย 50 ดังนั้น หากคุณเปิดสถานะ €1,000 โดยใช้เลเวอเรจ 1:50 คุณต้องมียอดเงินในบัญชีของคุณอย่างน้อย €20 คุณต้องวางเงินไว้ €20 และยืมอีก €980 มาร์จิ้น ในขณะที่เลเวอเรจคือจำนวนเงินที่ยืม … Continued

ตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญ

การเทรดตามเทรนด์ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคอย่างครอบคลุม ซึ่งรวมทั้งรูปแบบกราฟและตัวชี้วัดทางเทคนิคด้วย ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือจำเป็นที่ใช้ข้อมูลราคาและใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ต่างๆ เพื่อแปลงเป็นข้อมูลภาพ เช่น กราฟหรือออสซิลเลเตอร์ ซึ่งสามารถให้สัญญาณเข้าหรือออกแก่เทรดเดอร์ได้ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลราคา ตัวชี้วัดสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความแข็งแกร่งของเทรนด์ โมเมนตัม จุดเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้น และจุดกลับตัวที่เป็นไปได้ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ตัวชี้วัดถือเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้เทรดตามเทรนด์ ตัวชี้วัดสามารถแบ่งออกเป็นสามประเภทที่แตกต่างกันตามลักษณะทั่วไป ซึ่งก็คือตัวชี้วัดราคา ปริมาณ และออสซิลเลเตอร์ ตัวชี้วัดราคาช่วยคุณในการวัดเทรนด์การเคลื่อนไหวของราคาโดยรวม ตัวชี้วัดปริมาณช่วยวัดความเชื่อมั่นของตลาด ขณะที่ตัวชี้วัดออสซิลเลเตอร์จะช่วยคุณระบุระดับที่เทรนด์โดยรวมจะเปลี่ยนแปลงไป ความจริงก็คือ การเทรดในตลาดฟอเร็กซ์ไม่ใช่การเทรดขาเดียว ด้วยเหตุนี้ เทรดเดอร์จึงต้องเรียนรู้ว่ามีตัวชี้วัดมากมายที่จะช่วยระบุเวลาที่ดีที่สุดในการซื้อหรือขายอัตราข้ามฟอเร็กซ์ ด้านล่างนี้ เราจะมาสำรวจตัวชี้วัดทางเทคนิคที่สำคัญและใช้กันบ่อยที่สุดบางส่วนกัน: ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หรือ Moving Average ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มีสองประเภทด้วยกัน คือ Simple กับ Exponential Moving Average (SMA กับ EMA) สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจในตรงนี้คือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่คำนวณโดยการหารผลรวมของราคาปิดในช่วงเวลาที่กำหนดด้วยช่วงเวลาที่คำนวณผลรวม SMA ใช้วิธีนี้คำนวณ จึงถือว่า ‘Simple หรือเรียบง่าย’ ขณะที่ EMA มีวิธีการคำนวณที่คล้ายกัน ยกเว้นการเน้นไปที่ราคาปิดล่าสุดมากกว่า ซึ่งเป็นสาเหตุที่เรียกว่า “Exponential หรือทวีคูณ” ในท้ายที่สุด ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับแบบที่คุณรู้สึกสบายใจและสไตล์การเทรดของคุณเป็นอย่างไร EMA … Continued

การวิเคราะห์ทางเทคนิคคืออะไร?

การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นการศึกษาการเคลื่อนไหวของราคาคู่เงินฟอเร็กซ์หนึ่งๆ หรือสินทรัพย์ CFD เพื่อค้นหาสิ่งบ่งชี้ทิศทางราคาในอนาคต โดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะพยายามคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตโดยการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทานในอดีต เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นในการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์เมื่อเวลาผ่านไป หลักการพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางเทคนิค ตลาดหักลบทุกอย่าง นักวิเคราะห์ทางเทคนิคสันนิษฐานว่า ณ เวลาใดก็ตาม ราคาหุ้นจะสะท้อนถึงทุกสิ่งที่มีหรืออาจส่งผลกระทบต่อคู่เงินหรือสินทรัพย์ CFD หนึ่ง ซึ่งรวมถึงปัจจัยพื้นฐานด้วย ตัวอย่างเช่น นักวิเคราะห์ทางเทคนิคเชื่อว่าปัจจัยพื้นฐานของบริษัท ควบคู่ไปกับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่กว้างขึ้นและจิตวิทยาของตลาด ล้วนมีส่วนต่อราคา นี่จึงทำให้จำเป็นต้องวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคา ราคาขยับตามเทรนด์ ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค เราเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของราคาจะเป็นไปตามเทรนด์ ซึ่งหมายความว่าหลังจากมีเทรนด์เกิดขึ้นแล้ว การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตมีแนวโน้มที่จะไปในทิศทางเดียวกับเทรนด์มากกว่าที่จะสวนทาง ซึ่งกลยุทธ์การเทรดทางเทคนิคส่วนใหญ่ใช้สมมติฐานนี้ ประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอย แนวคิดที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการวิเคราะห์ทางเทคนิคคือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเดิมในรูปแบบปกติที่พอจะคาดเดาได้ รูปแบบเหล่านี้ที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของราคา เรียกว่าสัญญาณ เป้าหมายของนักวิเคราะห์ทางเทคนิคคือการค้นหาสัญญาณของตลาดในปัจจุบันและวางสถานะตามนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในกราฟ หลักการพื้นฐานที่สุดของการวิเคราะห์ทางเทคนิค คือราคาจะสะท้อนข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ดังนั้น ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยจึงไม่จำเป็นต้องรวมอยู่ในการวิเคราะห์ ตรรกะพื้นฐานตรงนี้คือการเคลื่อนไหวของราคาส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์ ดังนั้นตัวแปรของตลาดทั้งหมดจึงสะท้อนให้เห็นในการเคลื่อนไหวของราคา และเนื่องจากมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีนิสัย รูปแบบบางอย่างจึงมีแนวโน้มที่จะซ้ำรอยในตลาด กราฟราคา ผู้เทรดด้วยการวิเคราะห์ทางเทคนิคต้องอาศัยกราฟราคา กราฟปริมาณ (วอลุ่ม) และข้อมูลทางคณิตศาสตร์อื่นๆ ของข้อมูลตลาด หรือที่เรียกว่าข้อมูลชี้วัดหรืออินดิเคเตอร์ เพื่อพยายามคาดการณ์จุดเข้าและออกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถานะของตน ข้อมูลชี้วัดบางตัวสามารถช่วยเทรดเดอร์ในการระบุเทรนด์ ขณะที่บางตัวช่วยระบุความแข็งแรงและความยั่งยืนของเทรนด์เมื่อเวลาผ่านไป ประเภทกราฟยอดนิยม ได้แก่: – กราฟแท่งเทียน … Continued

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นวิธีคาดการณ์ความเคลื่อนไหวของราคาในตลาดฟอเร็กซ์/CFD โดยการวิเคราะห์แรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่อาจส่งผลต่ออุปสงค์และอุปทานของสินทรัพย์ที่คุณกำลังเทรด การเทรดตามปัจจัยพื้นฐานเรียกอีกอย่างว่าการเทรดตามข่าว เนื่องจากคุณจำเป็นต้องคอยจับตาอย่างใกล้ชิดกับการเปลี่ยนแปลงของดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่ออกใหม่ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราการจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อ เป้าหมายปลายทางของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคือการค้นหามูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ เปรียบเทียบกับราคาปัจจุบัน และค้นหาโอกาสในการเทรด ตัวอย่างเช่น ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและกำลังเติบโตจะพบกับแรงอุปสงค์ในสกุลเงินที่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอุปทานและเพิ่มมูลค่าของสกุลเงิน ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ทั้งหมดนี้มาจากหลักการพื้นฐานด้านอุปสงค์และอุปทาน การใช้อุปสงค์และอุปทานเป็นตัวบ่งชี้ว่าราคาจะไปในทิศทางใดสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่แท้จริงคือการวิเคราะห์ปัจจัยทั้งหมดที่ส่งผลต่ออุปสงค์และอุปทาน มีทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มากมายล้อมรอบการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของฟอเร็กซ์และ CFD ความพยายามที่จะใส่ข้อมูลทางเศรษฐกิจหลายๆ ส่วนในบริบทเพื่อให้เปรียบเทียบกันได้นั้นต้องทำงานหนักและมีวินัยอย่างมาก ปัจจัยพื้นฐานของฟอเร็กซ์และ CFD ราคาฟอเร็กซ์และ CFD ได้รับผลกระทบจากข้อมูลเศรษฐกิจระดับมหภาคและจุลภาค เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ และจุดที่เชื่อมโยงกัน ปัจจัยเหล่านี้อาจรวมถึง ตัวอย่างเช่น อัตราการเติบโตของ GDP, เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยุ่งเหยิง, สถิติการจ้างงาน, อัตราดอกเบี้ย, และรายงานดุลการค้า เป็นต้น โดยการประเมินแนวโน้มสัมพัทธ์ของจุดข้อมูลเหล่านี้ เทรดเดอร์กำลังวิเคราะห์สุขภาพเศรษฐกิจของประเทศและระบุการเคลื่อนไหวในอนาคตของสกุลเงินของตน สำหรับเทรดเดอร์ที่เทรด CFD หุ้น พวกเขาจะดูที่รายงานรายได้ ค่าใช้จ่าย สินทรัพย์ และหนี้สินล่าสุดของบริษัท ผู้เทรดตามปัจจัยพื้นฐานจะใช้จุดข้อมูลเหล่านั้นเพื่อระบุสถานภาพของบริษัท หากสุขภาพทางเศรษฐกิจของพวกเขามีแนวโน้มดีขึ้นเนื่องจากรายได้และงบดุลของบริษัทเติบโตขึ้น ผู้เทรดตามปัจจัยพื้นฐานจะเลือกที่จะวางสถานะซื้อในหุ้นของบริษัทนั้นโดยคาดว่าจะมีผู้ที่ต้องการหุ้นนั้นเพิ่มขึ้น การเทรดตามข่าว ข้อมูลทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่สำคัญที่สุดตัวหนึ่งสำหรับการเคลื่อนไหวระยะสั้นในทุกตลาด … Continued

การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex/CFD และอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงทั่วไป